Revit MEP

รายละเอียดหลักสูตร Revit MEP
เวลาเรียนทั้งหมด 30 ชั่วโมง
จำนวน 6 ครั้ง ครั้งละ 5 ชั่วโมง
.
สิ่งที่ลูกค้าได้รับในการเรียน
– เอกสารประกอบการเรียน Revit MEP
– ใบรับรองจบคอร์ส Revit MEP

15,000 ฿

THB

ภาพรวมของหลักสูตร Revit MEP

โปรแกรม Autodesk Revit MEP เป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับการสร้าง BIM (Building Information Modeling) หรือเป็นการสร้างแบบจำลองโมเดล 3 มิติ ด้วยคอมพิวเตอร์ที่สามารถใส่ข้อมูล (Information) เข้าไปในโมเดลได้ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานเกี่ยวกับ การออกแบบ การเขียนแบบ ของงานระบบ MEP ได้แก่ ระบบปรับอากาศ (HVAC) ระบบสุขาภิบาล (Plumbing) ระบบดับเพลิง (Fire Protection) และระบบไฟฟ้า (Electrical) ออกแบบได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เข้าใจง่ายด้วยมุมมองของ 3 มิติ มีความถูกต้องครบถ้วน ลดปัญหาความผิดพลาดในการก่อสร้าง นอกจากนี้ โปรแกรม Autodesk Revit MEP ยังสามารถทำแบบ (Drawing) และถอดปริมาณของงานระบบโดยรวม ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการนำไปใช้ประเมินราคางานก่อสร้างได้ สำหรับหลักสูตรพื้นฐานของสถาบันในการสอนโปรแกรม Autodesk Revit MEP จะเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจใน 3 หัวข้อหลัก ได้แก่

-เข้าใจในคำสั่งพื้นฐานและโครงสร้างการทำงานของโปรแกรม
-เข้าใจเรื่องการ setting ค่าต่างๆ ของการเขียนงานแต่ละระบบ
-ทำ Workshop ที่จะได้ แบบ (Drawing) และปริมาณงานเพื่อให้ผู้เรียนมั่นใจว่าเมื่อเรียนจบหลักสูตรพื้นฐานนี้แล้วจะสามารถนำไปใช้งานได้จริงและนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานต่อไป

หลักสูตร 30 ชั่วโมง จำนวน 6 ครั้ง ครั้งละ 5 ชั่วโมง ราคา 15,000 บาท

หัวข้ออบรมหลักสูตร 3D for Engineering with Revit MEP
ครั้งที่ 1 Introduction User Interface and Start Project MEP & งานระบบดับเพลิง (Fire Protection System)

– การเลือก Template
-ทำความเข้าใจกับส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรม (Tool , Ribbon , Option Bar
Project Brewers , Properties)
– ทำความเข้าใจชนิดของวัตถุ (Element) ที่เป็น Category , Family , Type
– ทำความเข้าใจชนิดไฟล์ Project , Template , Family
– แนะนำการใช้งานเครื่องมือต่างๆ
– ตั้งค่า Project Unit
– การ Link ไฟล์งาน Architecture เข้ามาใน MEP Project
– การใช้คำสั่ง Copy – Monitor กับ Level และ Gird Line
– การสร้าง Floor Plan & Ceiling Plan
– การสร้าง Ceiling Plan
– การ Save File Project (.rvt)
– ตั้งค่า Piping setting
– การกำหนด ชนิดของท่อ (Pipe Type)
– การกำหนดระบบท่อน้ำ ( Pipe System)
– การโหลด Family ของงานระบบดับเพลิง
– การวางหัวสปริงเกอร์- อุปกรณ์ต่างๆ และการจัดตำแหน่ง
– การเขียนระบบท่อแบบ Generate pipe Layout
– การเขียนระบบท่อแบบ Manual
– การ Import File Cad
– การวางตำแหน่งอุปกรณ์ตาม Cad File

ครั้งที่ 2 งานระบบสุขาภิบาล (Sanitary System)
– การเลือก Template
– โหลด Family งานระบบสุขาภิบาล
– อธิบายการเขียนท่อที่มีความชัน (Pipe Slope)
– วางตำแหน่งสุขภัณฑ์ของห้องน้ำ (Plumbing Fixture)
– เขียนระบบท่อระบาย (Soil , Wests) ท่ออากาศ (Vent) และท่อน้ำ (Cold Water) ของห้องน้ำ (Toilet)
– อธิบายการใช้ Filter

ครั้งที่ 3 งานท่อลม (Duct work) ระบบปรับอากาศ (HVAC System)
– การเลือก Template
– การโหลด Family งานระบบปรับอากาศ
– การตั้งค่าท่อลม (Duct Setting)
– ทำความเข้าใจชนิดของท่อลม (Duct Type) ในโปรแกรม Revit
– การตั้งค่าระบบท่อลม (Duct System) และการกำหนด คุณสมบัติ
– อธิบายวิธีการเดินท่อลมแบบอัตโนมัติ (Automatic Duct Work Layout)
– อธิบายการเดินท่อลมแบบ Manual
– อธิบายวิธีการแก้ไขท่อลม (Modifying Duct)
– การ Import File Cad งานระบบท่อลม
– การเดินท่อลมตาม File Cad

ครั้งที่ 4 งานท่อน้ำ (Piping Work) งานระบบปรับอากาศ (HVAC)
– การตั้งค่างานระบบท่อน้ำ (Piping Setting)
– การกำหนดชนิดของท่อน้ำระบบปรับอากาศ (Pipe Type)
– การตั้งค่าระบบท่อน้ำระบบปรับอากาศ (Pipe System) และการกำหนดคุณสมบัติ
– อธิบายการเดินท่อแบบ Placeholder Pipe
– อธิบายการเดินท่อแบบ Parallel Pipe
– วิธีการเดินท่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์จ่ายลมเย็น (AHU & FCU)
– การ Import File Cad งานระบบท่อน้ำ
– การเดินระบบท่อน้ำเย็นตาม File Cad

ครั้งที่ 5 งานระบบไฟฟ้า (Electrical System) & การสร้าง Sheet Drawing & Export
– การเลือก Template
– ทำความเข้าใจเครื่องมือต่างๆ ของงานระบบไฟฟ้า (Tool)
– การตั้งค่างานระบบไฟฟ้า (Electrical Setting)
– การ Import File Cad งานระบบ Lighting
– การวางโคมไฟในแปลนฝ้า (Ceiling plan)
– การ Import File Cad งานระบบ Power (ปลั๊ก , สวิทซ์)
– การวางอุปกรณ์ปลั๊ก และสวิทซ์ ตาม File Cad
– การเดินท่อ Conduit
– การเดินราง Wire Way
– การเดินราง Cable Tray
– การสร้าง Title Block
– วิธีการสร้าง Sheet Views
– อธิบายการใช้ Dimension และการปรับคุณสมบัติ
– อธิบายการใช้ Annotation Tags และการแก้ไข
– สร้าง Sheet Drawing งานระบบสปริงเกอร์ (Sprinkler System)
– สร้าง Sheet Drawing งานระบบท่อลม ระบบปรับอากาศ (Air Condition)
– การ Export Sheet Drawing

ครั้งที่ 6 ถอดปริมาณ (Quantity Take Off) และ Basic Family
Part 1 ถอดปริมาณ (Quantity Take Off)
– อธิบายการถอดปริมาณระบบดับเพลิง (Fire Protection)
– อธิบายการถอดปริมาณท่อลม (Duct Work)
– อธิบายการถอดปริมาณงานระบบไฟฟ้า (Electrical System)
– การ Export เป็นไฟล์ Excel
Part 2 Basic Family
– ทำความเข้าใจ Family Template
– อธิบายวิธีการใช้คำสั่งพื้นฐานสำหรับสร้างวัตถุ (Create)
– การสร้างจุดเชื่อมต่อ (Connector) และทำความเข้าใจ Properties
– การกำหนด Family Category
– ทำความเข้าใจการ Save File ของ Family
– การโหลด Family เข้าโปรเจค

แบบฟอร์มสมัครอบรม

    คอร์สที่น่าสนใจ

    ขอใบเสนอราคา

      แจ้งชำระเงิน